Institutional strengthening on food safety and quality control in supply chain management of livestock products
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันความปลอดภัยอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหารในการบริหารจัดการห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
การจัดการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งห่วงโซ่อาหาร (Food Supply Chain)หรือการจัดการตั้งแต่เริ่มการผลิตจนถึงการขนส่งสินค้า ได้เป็นเรื่องที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นประเทศไทยจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นจุดศูนย์กลางทางโลจิสติกส์สำหรับอาเซียน เนื่องจากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในหลายๆ ด้าน
การจัดการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้ง Supply Chain เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารจะปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนหรือโรคต่างๆ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารทั้งในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน Food Supply Chain จะต้องมีการเตรียมแผนการจัดการกับระบบการตรวจควบคุมอาหาร
โครงการนี้ยังรวมไปถึงการสนับสนุนเครือข่าย International Food Safety Authority Network (INFOSAN) โดยการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ประสานงาน INFOSAN กับหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการกับเหตุการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร และเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัยที่ถูกต้องให้แก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้หน่วยงานของภาครัฐมีความเข้าใจและสามารถร่างแผนการจัดการความปลอดภัยของอาหารในตลาดภายในประเทศซึ่งครอบคลุมถึงอาหารที่ผลิตในประเทศและถูกนำเข้ามาในประเทศ ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน
- เพื่อแก้ไขช่องว่างและความซ้ำซ้อนในระบบการควบคุมคุณภาพอาหาร บทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อแจ้งข่าวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนมที่ชัดเจน ถูกต้องและทันเวลาให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน โดยการเชื่อมโยงกับเครือข่ายของ INFOSAN
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงสาธารณสุข
|
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|
หน่วยงานอื่นๆ
|
• สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา
• สำนักส่งเสริมและการสนับสนุน ความปลอดภัยของอาหาร
• กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
• กรมอนามัย
• กรมควบคุมโรค
|
• สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ
|
• กระทรวงมหาดไทย
• กระทรวงอุตสาหกรรม
• กระทรวงพาณิชย์
• สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค
• สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
|
กิจกรรมหลัก
กิจกรรมหลักที่ 1
• ประเมินผลการจัดการ Food Supply Chain ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนม โดยยึดตามหลักเกณฑ์ของ CODEX ในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการตรวจควบคุมคุณภาพอาหาร ใน 2 จังหวัด
กิจกรรมหลักที่ 2
• นำช่องว่างและความซ้ำซ้อนในระบบการควบคุมคุณภาพอาหารที่ได้จากการประเมินมาจัดทำแผนงาน (Road map) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
กิจกรรมหลักที่ 3
• เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย INFOSAN เพื่อให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
กิจกรรมหลักที่ 4
• ผลการรายงานกิจกรรมของโครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันความปลอดภัยอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหารในการบริหารจัดการห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์”
สิ่งที่คาดหวังจะได้รับ
- ผลการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารในการบริหารจัดการ Supply Chain ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ใน 2 จังหวัดนำร่อง
- ช่องว่างและความซ้ำซ้อนในระบบการควบคุมคุณภาพอาหาร บทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้มีคุณภาพ
- ผลการรายงานกิจกรรมของโครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันความปลอดภัยอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหารในการบริหารจัดการห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์”
- ระบบการประสานงานของ INFOSAN ได้รับการพัฒนาให้แข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น